ดาวศุกร์ (Venus)


ดาวศุกร์

VENUS




       ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมันดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลกบางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด

     ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก

      สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน
               ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 



       



 ยานอวกาศมาริเนอร์ 2 
  
       ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปดาวศุกร์คือ มาริเนอร์ 2 ใน ..2505  หลังจากนั้นก็มีอีกหลายลำ จนกระทั่งในปี .. 2532 ยานอวกาศแมกเจลแลน ได้ใช้เรดาร์ในการสำรวจผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์ เพื่อทำแผนที่พื้นผิวของดาว การสำรวจโดยใช้สัญญาณเรดาร์ ทำให้ทราบถึงความสูงต่ำของพื้นผิวดาวศุกร์ได้ และพบว่าพื้นผิวดาวศุกร์ปกคลุมไปด้วย ที่ราบที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ และภูเขาไฟขนาดใหญ่หลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นผิวดาวศุกร์ไม่มีหลุมอุกกาบาตขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับดาวพุธ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า อุกกาบาตจะถูกเผาไหม้ไปจนหมด ในระหว่างที่เดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์






สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ 







ข้อมูลจำเพาะของดาวศุกร์


ระยะห่างจากดวง อาทิตย์  

โดยเฉลี่ย 108.2 ล้านกิโลเมตร(0.723 a.u.)
ใกล้สุด 107.4 ล้านกิโลเมตร (0.718 a.u.)
ไกลสุด 109 ล้านกิโลเมตร (0.728 a.u.) 

ระยะห่างจากโลก

โดยเฉลี่ย 40  ล้านกิโลเมตร(0.267 a.u.)

Eccentricity 

0.007

คาบการหมุนรอบตัวเอง 

243.16วันหมุนกลับทิศกับโลก 

คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 

224.701 วันบนโลก ด้วยความเร็ว 35.02 กิโลเมตรต่อวินาที

ระนาบโคจร  (Inclination)  

3:23:39.8 องศ

แกนเอียงกับระนาบโคจร 

178 องศา

มวล 

4.870x10 ^27  กรัม หรือ 0.815  เท่าของโลก 


เส้นผ่านศูนย์กลาง 

12,104 กิโลเมตร  (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร

แรงโน้มถ่วง 

0.903 เท่าของโลก

ความเร็วหลุดพ้น 

10.36 กิโลเมตรต่อวินาที

ความหนาแน่น

ต่อ 5.25 เมื่อเทียบกับน้ำ

ความสว่างสูงสุด 

-4.4


โครงสร้างของดาวศุกร์ 







            เปลือกชั้นนอกของดาวศุกร์ จะเป็นชั้นของหินซิลิเกตมีหลุมอุกกาบาตไม่มาก มีที่ราบขนาดใหญ่สองแห่งคือ ที่ราบอะโฟรไดท์ 
( Aphrodite) ขนาดราวทวีปอัฟริกา และที่ราบอิชทาร์ (Ishtar) ขนาดราวทวีปออสเตรเลีย และมีแนวภูเขาเหยียดยาว กับปล่อยภูเขาไฟที่พ่นธารลาวาออกมา ชั้นกลางเป็นหินกับโลหะ ส่วนแกนกลาง เป็นเหล็กและนิเกิลที่หลอมเหลว  

หินแข็งเก่าแก่ จากลาวาเกิดสนิมได้ 

     บริเวณภูเขาไฟหลายแห่งอายุประมาณ 750 ล้านปี จะแสดงถึงแนวไหลของลาวาบางแห่งแนวไหลของลาวา มีลักษณะเหมือนกับ ภูเขาไฟ บนเกาะฮาวายบางแห่งจมลึกลงไป ภูเขาไฟสงบนิ่งหยุดระเบิดมาแล้ว 100 ล้านปี แต่มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวบนดาวศุกร์ บิดเบี้ยวเป็นจำนวนไม่น้อย อันเกิดจากใต้ชั้นเปลือกด้วย ผลกระทบจาก ความร้อนภายในแกนดาวศุกร์
     ความแตกต่างระหว่างโลกและดาวศุกร์ ด้านธรณีวิทยาชัดเจนคือ ดาวศุกร์ไม่มีร่องรอยการเซาะกัดจากน้ำเหมือนโลก เพราะไม่มีฝนตก นั้นคือข้อมูลเดิมจากสิ่งที่เราทราบ แต่วันนี้เราพบว่า จากการสำรวจเพิ่มเติมในหลายพื้นที่ พบว่าหินบนดาวศุกร์ มีการเกิดสนิม 

     โดยปกติเราทราบว่า สนิมเกิดได้จากน้ำ แต่เมื่อดาวศุกร์ไม่มีน้ำอย่างแน่นอนเหตุ เกิดเพราะเกิดความความหนาแน่น ความร้อน และกรดรุนแรง ของบรรยากาศเป็น ความผันแปร จากเคมีที่เกิดอย่างยาวนาน ตกตะกอนสู่หิน





        บรรยากาศของดาวศุกร์ ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97%  ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอาร์กอน 0.5%  


         มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบมาก ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว โดยตรงได้ ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้ง





     
        ปรากฎการณ์บนดาวศุกร์ เป็นเช่นนี้เพราะการถ่ายเท คลื่นความ   
ร้อนสูงจากพื้นได้ ปกคลุมไปทั่วหนาแน่นทำให้เกิดสะท้อนของกลุ่มเฆม เต็มไปด้วย กรดกำมะถัน (Sulfuric acid) โดยปกติก๊าซทั้งหมดจับตัวกัน เป็นของเหลวในความเย็นลอยสู่ ชั้นบรรยากาศแล้วระเหยกลายเป็นไอ
     แต่บางครั้งรวมตัวกันเป็นฝนกรด (Acid rain) จะตกเฉพาะในชั้นบรรยากาศสูง กว่าพื้นผิว 30 กม.โดยระเหยตัวก่อนตกสู่พื้น เพราะความร้อนลอยตัวแผ่อยู่ทั่วไป เมื่อเงยหน้าสังเกตดู จะเห็นกลุ่มก้อนเมฆที่เกาะตัวดำ สลับกับฟ้าผ่า ฟ้าแลบกัน  ตลอดเวลา จากสภาพคลื่นไฟฟ้าของชั้นบรรยากาศ และปฏิกิริยาทางเคมี มีระยะทางยาวจากก้อนเมฆสู่ก้อนเมฆหรือสู่พื้นผิวถึง 

     
       อุณหภูมิของดาวศุกร์ ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก ประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

      ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวรุนแรงมาก ทั้งนี้เพราะดาวศุกร์มีก๊าซที่ช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มาก และมีปริมาณสูง ก๊าซดังกล่าวคือคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังมีไอของกรดกำมะถัน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับไอน้ำ บรรยากาศของดาวศุกร์มีอาร์กอน ไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ นีออน- ไฮโดรคลอไรด์ และไฮโดรฟลูออไรด์ ทำให้ความกดดัน บรรยกาศสูงกว่าโลก 90 เท่า ปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวดาวศุกร์ ทำให้ดาวศุกร์ร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน ตอนกลางวันอุณหภูมิสูงถึง 477 องศาเซลเซียส บนพื้นผิวดาวศุกร์มีร่องลึกคล้ายทางน้ำไหล แต่เป็นร่องที่เกิดจากการไหลของลาวาภูเขาไฟ ไม่ใช่เกิดจากน้ำอย่างเช่นบนโลก ร่องเหล่านี้ยาวนับร้อยถึงพันกิโลเมตร กว้าง 1-2 กิโลเมตร เช่น ร่องบอลติส วัลลิส (Baltis Vallis) ซึ่งยาว 6,800 กิโลเมตรนับว่ายาวที่สุดในระบบสุริยะ บนพื้นผิวดาวศุกร์มีซากภูเขาไฟที่สูงชื่อ มาตมอนส์ (Maat Mons) ภาพที่สร้างขึ้นจากข้อมูลเรดาร์ของยานอวกาศแมกเจลแลนจากระยะ 550 กิโลเมตร สูงจากพื้นผิว 1.7 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่ามาตมอนส์เป็นภูเขาไฟที่สูงประมาณ กิโลเมตร เนื่องจากวงโคจรของดาวศุกร์รอบดวงอาทิตย์เล็กกว่าวงโคจรของโลก ทำให้ด้านสว่างของดาวศุกร์ที่หันมาทางโลกมีขนาดเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ใกล้โลก จะมีด้านสว่างเพียงเล็กน้อยหันมาทางโลกทำให้เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวบางๆ แต่มีความยาวมากกว่าเมื่อดาวศุกร์อยู่ไกล ช่วงที่เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวบางๆ นี้เองที่ดาวศุกร์ปรากฏสว่างมากบนฟ้าด้วย ส่วนเมื่อปรากฏเป็นเสี้ยวน้อยลงหรือเกือบเป็นเต็มดวง ขนาดปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะเล็กลงและสว่างลดลง





 การร่วมทิศวงใน (Inferior conjunction)


        ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เมื่อดาวศุกร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โดยอยู่บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ แต่คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นวงกลมดำบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เรียกว่า ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เกิดไม่บ่อย เกิดเป็นคู่ห่างกันประมาณ 8 ปี ใน 1 ศตวรรษจะมีเกิด คู่ เช่น คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 คือในปี .. 1631 และ 1639 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือในปี .. 1761 และ 1769 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือในปี .. 1874 และ 1882 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือในปี .. 2004 และ 2012








  ดาวศุกร์ ไม่มีสนามแม่เหล็ก เหมือนโลกจึงไม่สามารถปกป้องพายุสุริยะได้





 บริเวณพื้นที่ Bell Regio  ของดาวศุกร์



      บนดาวศุกร์บริเวณ Bell Regio สภาพแวดล้อมเกิดจาก ผลกระทบของแผ่นเปลือก ดาวศุกร์ร่วมกับภูเขาไฟขนาดใหญ่สังเกตเห็นว่าระหว่างแต่ละชั้นมีร่องรอยการไหล ท่วมของลาวาค้างแข็งอยู่ 


     


Maxwell Montes ขนาดใหญ่ที่สุดของดาวศุกร์

        ภูเขาอีกแห่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของดาวศุกร์ คือ Maxwell Montes มีความสูง 11 กิโลเมตร จะพบพบแร่ประเภท Pyrite (แร่โลหะ ประกอบกำมะถัน สีเหลือง สีทองแดง) รอบๆเป็นที่ราบสูง ชื่อ Lakshmi 


                                 
      
            Alpha Regio เห็นรูููปทรงชัดเจนเป็นลักษณะยอดกลมแบน ความสูง 2.4 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 กิโลเมตร ภูเขาทั้งสามเกิดจากการระเบิดตัวของลาวาเพราะ มีร่องรอย ไหลของยางเหนียวหนาโดยรอบ


แผนการณ์สำรวจดาวศุกร์ ด้วยเทคโนโลยี่ชั้นสูง




                                                     โครงการ Venus Express
       เพื่อการสำรวจดาวศุกร์ของสถาบัน European Space Agency สนับสนุนจาก NASA ตั้งแต่ ..2005 เริ่มโคจรรอบดาวศุกร์ .2006 เพื่อศึกษาเก็บข้อข้อมูล ด้านสภาพอากาศ ในแต่ละวันของดาวศุกร์
            

                 โครงการ Venus In-Situ Explorer (VISE) 
         
          เป็นโครงการใหม่เน้นศึกษาองค์ประกอบพื้นผิวดาวศุกร์ เพื่ออธิบายถึงแกนภายในดาวศุกร์ โดยตรวจสอบธาตุและสารประกอบทางธรณีวิทยา วัตถุดิบตัวอย่างต่างๆ จะเริ่มต้นในอนาคตเร็วๆนี้ โดยเครื่องมือสำรวจที่พิเศษ เช่น Venus MobileExplorer  อุปกรณ์สำรวจใกล้เหนือพื้นผิวดาวศุกร์ 10 กิโลเมตร ทนความร้อนสูง 460 องศาเซลเซียส สามารถต้านทานแรงกดดัน 90 Bars ต้านทานความเข้มข้นของ Carbon dioxide และป้องกันสนิมกรดบนดาวอังคารได้





   



โครงการ The European Venus Explorer (EVE) 
     
      วัตถุประสงค์ European Space Agency (ESA) เป็นความร่วมมือจากประเทศรัสเซีย ยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา และอเมริกา เพื่อตรวจสอบ ระบบพัฒนาการสภาพอากาศของดาวศุกร์ เริ่มต้น ..2016-2018 นับว่าเป็นโครงการ ระดับนานาชาติ โดยการสำรวจดาวศุกร์ จำต้องใช้เทคนิคและความก้าวหน้าด้านอุปกรณ์ ลงตรวจ ตรวจในระดับความสูงต่างๆ ซึ่งเราไม่สามารถส่งมนุษย์เข้าไปได้เลย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น